0-2806-8885-7, 0-2106-3524 เปิดบริการ 24 ชั่วโมง ทุกวัน

คลินิกอายุรกรรม

คลินิกอายุรกรรม
ตรวจรักษาและให้คำปรึกษาทางด้านโรคทางด้านอายุรกรรมทั่วไปเช่นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร โรคไต โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โลหิตจาง ฯลฯ ด้วยแพทย์เฉพาะทางด้านอายุรกรรม

คลินิกอายุรกรรม

ให้บริการด้่านการรักษาโรคอายุรกรรมทั่วไป เช่น โรคไข้หวัด โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน รวมถึงให้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพต่างๆ เป็นต้น 

โรคความดันโลหิตสูง

        ความดันโลหิตสูง คือภาวะที่มีแรงอัดดันปริมาณมากกระทำต่อผนังหลอดเลือดแดง ในขณะที่หัวใจสูบฉีดโลหิต   โรคนี้มักไม่แสดงอาการจนกว่าเป็นมาก  และอยู่ในระยะอันตราย   ซึ่งเมื่อถึงขั้นดังกล่าวจะแสดงอาการปวดศีรษะ หน้ามืด  มีเสียงในหูและหัวใจเต้นเร็ว  ถ้าไม่ได้รับการควบคุม  โรคความดันโลหิตสูง   อาจทำให้หัวใจล้มเหลว   หลอดเลือดในสมองตีบ  หรือไตวายได้  และอาจเป็นอันตราย  ต่อดวงตาและอวัยวะอื่นๆ
ค่าปกติของความดันโลหิตขณะพักของผู้ใหญ่จะอ่านได้ประมาณ120/80 mm Hg ถ้าค่าความดันคงที่อยู่ในระดับ140/90 mm Hg หรือสูงกว่านี้ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งส่วนใหญ่โรคความดันโลหิตสูงที่เกิดขึ้นในคนมักไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด

โรคโลหิตจาง

ภาวะโลหิตจาง(Anemia) เป็นโรคเกี่ยวกับโลหิตที่พบบ่อยที่สุด มีหลายชนิด หากแยกตามกลไกการเกิดโรคจะแบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆดังนี้

  1. กลุ่มที่เกิดจากร่างกายสร้างจำนวนเม็ดโลหิตแดงได้น้อย เช่น Aplastic Anemia
  2. กลุ่มที่เกิดการเม็ดเลือดแดงถูกทำลายมาก เช่น Hemolytic anemia
  3. กลุ่มที่เม็ดเลือดแดงถูกนำไปใช้ได้ไม่ปกติเช่น ไม่สามารถนำออกซิเจนไปสู่อวัยวะอื่นๆได้อย่างพอเพียง ซึ่งมักเกิดจากภาวะที่ร่างกายขาดสารอาหาร และเเร่ธาตุต่างๆ เช่น Vitamine B, Folic or Iron Deficiency เป็นต้น


โลหิตจางชนิดที่พบบ่อยมีดังนี้

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งสาเหตุแบ่งได้เป็น ภาวะที่ขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Type I) หรือ ภาวะดื้อต่ออินซูลิน เป็นผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินลดลง จนทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ  ทำให้ระดับน้าตาลคงค้างอยู่ในเลือดเป็นเวลานาน จนก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่างๆ ที่พบได้บ่อย คือ ตา ไต และระบบประสาทเป็นต้น

โรคไขมันในเลือดสูง (Hypercholesterolemia)

ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงของระบบและ อวัยวะต่างๆในร่างกาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะหลอดเลือดแข็งตัว(Atherosclerosis) ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ( Myocardia Infarction, MI) ซึ่งโรค MI นับเป็นโรคร้ายอีกชนิดหนึ่งที่คร่าชีวิตมนุษย์เราเป็นอันดับต้นๆ แม้จะดูน่ากลัวแต่ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูงสามารถควบคุมและป้องกันได้ไม่ยาก ถ้าสามารถทำได้จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหัวใจได้อย่างมาก


ชนิดของไขมันในเลือด ไขมันในเลือดที่สำคัญมีอยู่หลายชนิด ได้แก่ ไขมันโคเลสเตอรอล(Cholesterol) และไขมันไตรกลีเซอไรด์(Triglyceride) โดยทั่วไปในการตรวจไขมันในเลือดจะตรวจสารต่างๆดังต่อไปนี้

  1. โคเลสเตอรอล(Cholesterol) เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้ขึ้นเองจากตับและลำไส้   หรือได้รับจากสารอาหารที่รับประทานเข้าไป  อาหารที่มาจากพืชจะไม่พบโคเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบ  แต่จะพบมากในไขมันสัตว์  ปริมาณไขมันขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารโคเลสเตอรอลมีความสำคัญต่อร่างกาย  โดยเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์สมอง แต่ห้ามมีไขมันโคเลสเตอรอลมากเกินไป ก็จะเป็นโทษต่อร่างกายเช่นกัน  ซึ่งไขมันเหล่านี้จะไปสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย เช่น หลอดเลือดสมอง  หลอดเลือดหัวใจ  ฯลฯ ทำให้เกิดเส้นเลือดแข็งตัวและการตีบตันของหลอดเลือด  ในอนาคตจะเป็นช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับปริมาณโคเลสเตอรอลและมีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เช่น  ความดันโลหิตสูง  ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน การสูบบุหรี่ ความอ้วน และการไม่ออกกำลังกาย  เป็นต้น
    เรายังแบ่งไขมันโคเลสเตอรอลได้ย่อยๆ  อีกที่สำคัญ2 ชนิดคือ
    1. เอชดีแอล(High density lipoprotein-HDL) มีหน้าที่ นำโครเลสเตอรอลจากกระแสเลือดไปทำลายที่ตับดังนั้นถ้าระดับHDLในเลือดสูงจะทำให้อัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบน้อยลง HDL จะสูงได้จากการออกกำลังกายระดับปกติในเลือดผู้ชายมากกว่า40 มิลลิกรัม/ต่อเดซิลิตร ผู้หญิงมากกว่า50 มิลลิกรัม/ต่อเดซิลิตร
    2. แอลดีแอล (Low density lipoprotein-LDL) หากมีไขมันชนิดนี้ในเลือดสูงก็จะไปเกาะผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดพอกหนาขึ้นจนความยืดหยุ่นของหลอดเลือดเสียไปหลอดเลือดจะตีบแคบลงทำให้การไหลเวียนเลือดไม่สะดวกจึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดตีบตันได้มาก ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน130 มิลลิกรัม/ต่อเดซิลิตร
  2. ไตรกลีเซอไรด์(Triglyceride) เป็นไขมันชนิดหนึ่งเกิดจากการสร้างขึ้นเองในร่างกายจากน้ำตาลและแป้งหรือจากอาหารที่รับประทานเข้าไป  มีความสำคัญทางด้านโภชนาการหลายประการนับตั้งแต่ให้พลังงานช่วยในการดูดซึมวิตามินเอดีอีและเค  ช่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องอยู่นานนอกจากนี้ร่างกายยังเก็บสะสมไตรกลีเซอไรด์ไว้สำหรับให้พลังงานเมื่อมีความต้องการอย่างไรก็ตามการมีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงหรือพบว่าสูงในคนที่มี โคเลสเตอรอลสูงอยู่แล้วเชื่อว่ามีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบมากขึ้นระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน150  มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร(ค่าปกติ50 – 150 mg/dl)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : โทร. 0-2806-8885-7 , 0-2106-3524

Line : @boonyavej